ปวดข้อศอก รักษาได้
อาการปวดข้อศอก ทำให้รู้สึกเมื่อย ถือของหนักไม่ได้มาก ข้อศอก ถือเป็นอีกหนึ่งข้อต่อที่สำคัญในร่างกาย เพราะเป็นส่วนหนึ่งของแขน บางคนปวดเล็กน้อยอาจจะไม่เป็นไร ฉันยังโอเค บางคนอาจปวดรำคาญ รู้สึกเมื่อย ๆ อึดอัด ๆ บริเวณข้อศอก แต่ก็มีบางคนอาจเจ็บปวดถึงขั้นทนไม่ได้ ทุกข์ทรมาน รบกวนและสร้างความลำบากขณะใช้ชีวิตประจำวัน โดย เฉพาะเมื่อต้องยกของ บิดแขนหรือกำมือแน่น
อาการปวดที่บริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านในและมีจุดกดเจ็บ บริเวณนี้เป็นที่ยึดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กำมือและกระดกข้อมือ ซึ่งเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป มีการใช้งานแบบซ้ำๆ บ่อยเกิน จนทำให้เกิดอาการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อ บางครั้งอาจมีการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อบางส่วนอีกด้วย โรคนี้มักพบในนักกอล์ฟ นักกีฬาที่ใช้การโยนหรือเหวี่ยงแขน และกิจกรรมที่ใช้แขนมากๆ
อาการปวดข้อศอกรุนแรง
ข้อศอกเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกิจกรรมประจำวันและกีฬามากมาย เป็นผลให้อาการปวดข้อศอกรุนแรงอาจทำให้เกิดการด้อยค่าอย่างมีนัยสำคัญ เงื่อนไขที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อศอกรุนแรงอาจเกี่ยวข้องกับจำนวนของโครงสร้างที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อศอก สามกระดูกมารวมกันเพื่อสร้างข้อศอกข้อศอกซึ่งช่วยให้งอและการขยายเช่นเดียวกับการบิดของปลายแขน กล้ามเนื้อหลายตัวเชื่อมต่อกับโครงกระดูกของข้อศอกผ่านเอ็น นอกจากนี้ปลายสุดของข้อศอกยังปกคลุมด้วยถุงบาง ๆ ที่เรียกว่า bursa ซึ่งช่วยกันกระแทกกระดูก ความเจ็บปวดในโครงสร้างข้อศอกอาจเป็นผลมาจากอาการบาดเจ็บเฉียบพลันหรือภาวะเรื้อรัง
อาการที่บ่งของโรคปวดข้อศอก ท่านจะมีอาการปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้างๆ ข้อศอก มีจุดกดเจ็บกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอก บางครั้งกดแล้วเจ็บร้าวไปตามแขน อาการอักเสบ บวม – แดง บริเวณข้อศอก ปวดมากขึ้น เมื่อทำกิจวัตรประจำวันที่ทำให้ที่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบๆข้อศอกหรือแขน (ยกของหนัก ทำงานบ้าน บิดผ้า ยกแก้วกาแฟ เปิดประตู)
อาการปวดข้อศอกแต่ละช่วงวัย
เด็กอายุประมาณ 10-20 ปี มักจะเกิดจากการเล่นกีฬา อาทิ เทนนิส กอล์ฟ แบดมินตัน เป็นต้น หากเป็นช่วงอายุ 20-40 ปี โดยเฉพาะคุณผู้หญิง มักปวดเพราะเกิดจากภาวะเสื่อมของเส้นเอ็น สัมพันธ์กับการใช้งานทั่วไป เช่น งานบ้าน ที่เป็นงานซ้ำๆ สำหรับผู้ชายมักสัมพันธ์กับการเล่นกีฬา เช่น เทนนิส กอล์ฟ เป็นต้น หรือสำหรับกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ที่ค่อนข้างใส่ใจในสุขภาพ เข้าฟิตเนส เล่นกีฬา การบาดเจ็บส่วนใหญ่จึงมาจากการออกกำลังกาย การใช้งานข้อศอกมากเกินไปทำให้เยื่อหุ้มข้ออักเสบ หรือเกิดภาวะเยื่อพังผืดในข้ออักเสบกดเบียดทับ (Plica) สำหรับผู้สูงวัย อาการปวดมักเกิดจากภาวะเสื่อม เส้นที่เกาะของเส้นเอ็นเสื่อม หรือเป็นผลจากการบาดเจ็บในอดีตทำให้ข้อเสื่อม หรือมีเศษผิวข้อแตกในข้อแล้วไม่รู้ตัว หรือภาวะแง่งกระดูกโตแล้วเกิดแตก ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้
ธนภัทรคลินิกกายภาพบำบัด ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร?
นักกายภาพบำบัดสามารถช่วยลดอาการอักเสบ (บวม-แดง) ด้วยการประคบเย็น แต่หากมีอาการปวดและอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อหรือเอ็นตรงข้อศอก นักกายภาพบำบัดควรวินิฉัยทางเลือกอาทิ อัลตราซาวด์บำบัด, เลเซอร์บำบัด , ประคบร้อน ท่านควรวางแผนการออกกำลังกาย ให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดและป้องกันการบาดเจ็บๆอีก ให้ความรู้ในการดูแลและระวังตนเอง รวมถึงให้คำแนะนำในใช้งานแขนหรือข้อศอกที่ถูกต้อง เพื่อให้ป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ